Sale!

ชาติพันธุ์ รังนก เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ : Birds’ Nests, Business, and Ethnicity in Southeast Asia

Original price was: 710.00฿.Current price is: 699.00฿.

มิตรสตรีแปลกหน้าร่างแบบบาง มาต้อนรับบางหัวใจหวาดหวั่น โดดเดี่ยวแปลกถิ่น แต่มุ่งมั่นมาหาคำอธิบายในสิ่งสงสัย ยานยนต์ประจำเมืองก็นำพาเข้ามาในแสงสีวิจิตรเรืองรอง

คำอธิบาย

เนื้อหาโดยสังเขป

    เป็นหนังสือเล่มใหม่ล่าสุด ที่ สกว. ภูมิใจนำเสนอ ต่อสังคมการใช้ความรู้ ด้วยเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า องค์ความรู้เรื่องรังนก และธุรกิจรังนก ที่หลายคนคงประเมินไม่ถูก ว่ามากถึงระดับหลักแสนล้านกันทีเดียว เนื่องจาก ธุรกิจรังนกที่เป็นเรื่องเฉพาะประกอบกับเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ในระบบธุรกิจโลกและเป็นธุรกิจแบบปิดที่อยากต่อการเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์ อุตสาหกรรมรังนกแอ่นมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาในหลายมิติไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจ และในเชิงชาติพันธุ์

โดยในเชิงเศรษฐกิจมีการประเมินว่า ปริมาณการบริโภครังนกแอ่นทั่วโลกในแต่ละปีคิดเป็นมูลค่าสูงถึงประมาณ 120,000 ล้านบาท ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตและการค้ารังนกแอ่นเป็นแหล่งจ้างงานและเกิดธุรกิจจำนวนมหาศาล ซึ่งประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายรังนกแอ่นแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้ ยังจะบอกเล่าถึงเรื่องทรัพยากรรังนกแอ่น ระบบความเชื่อ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ระบบสิทธิ์และกฎหมาย และผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับธุรกิจรังนกแอ่น ความสำคัญของตลาดรังนกแอ่นในประเทศฮ่องกงที่มีอิทธิพลต่อธุรกิจรังนกแอ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการธุรกิจ และรูปแบบกระบวนการจัดการทรัพยากรรังนกแอ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กว่าจะเป็น หนังสือเล่มนี้ นักวิจัย นำโดย เกษม จันทร์ดำ และคณะ ใช้เวลาศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลภาคสนามอย่างรอบด้านกว่า 8 ปี ทั้งในประเทศไทยและเพื่อนบ้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากรายงานวิจัยหลายร้อยหน้าที่เป็นธุรกิจศึกษาเชิงมนุษยวิทยา กลั่นกรองเขียนออกมาเป็นหนังสือด้วยภาษาการเล่าเรื่องแบบง่ายจัดทำรูปเล่มอย่างดีทั้งชนิดปกแข็งและปกอ่อน ที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถ อ่านติดตามเรื่องราวของนกแอ่นตั้งแต่ เริ่มต้น จนไปสู่ธุรกิจแสนล้าน ได้อย่างไม่น่าเบื่อ ได้สาระ ความรู้ ตามแบบฉบับการเขียนของนักวิจัยสนามด้านมนุษยวิทยา ที่ศึกษาและอยู่กับพื้นที่เสี่ยงอันตรายคลุกคลีกับคนในพื้นที่ ที่คนธรรมดาคงยากที่จะเข้าถึงและมีโอกาสเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตในบางขณะ และหากท่านเป็นคนหนึ่งที่สนใจเรื่องของนกแอ่น ไม่ว่าจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค หรือ ผู้สนใจทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ ตามความเชื่อของชาวจีน ซึ่งมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงไม่ควรพลาดที่จะได้อ่านหนังสือเล่มนี้!

สารบัญ

บทที่ 1 กลุ่มชาติพันธุ์กับทรัพยากรรังนกในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
บทที่ 2 กลุ่มชาติพันธุ์กับทรัพยากรรังนกในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
บทที่ 3 กลุ่มชาติพันธุ์กับทรัพยาการรังนกในสหพันธรัฐมาเลเซีย
บทที่ 4 กลุ่มชาติพันธุ์กับทรัพยากรรังนกในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
บทที่ 5 กลุ่มชาติพันธุ์กับทรัพยากรรังนกในราชอาณาจักรไทย
บทที่ 6 กลุ่มชาติพันธุ์บริโภคทรัพยากรรังนกในจีนฮ่องกง

คำนิยม
การทำงานแบบเอาจริงเอาจังเช่นนี้ ทำให้ อาจารย์เกษม ได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำจากนักวิชาการอาวุโสหลายท่าน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื้อหาของโครงการนี้จึงครอบคลุมเรื่องรังนกในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างกว้างขวางและในหลากหลายมิติ ผู้อ่านหนังสือนี้จึงจะได้รับความรู้หลายเรื่องซึ่งไม่เคยทราบมาก่อน และอันที่จริง ผมหวังว่า อาจารย์เกษม คงจะทำงานวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้และเขียนหนังสือออกมาอีกหลายเล่ม เพื่อให้ความรู้เรื่องรังนกขยายเพิ่มพูนขึ้นต่อไปศาสตราจารย์ ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง– อดีตผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
สุดท้ายนี้ ฝ่าย 1 ต้องขอขอบคุณ อาจารย์เกษฒ จันทร์ดำ เป็นอย่างยิ่ง ในความวิริยะอุตสาหะ ความทุ่มเทในการทำงาน ซึ่งกว่าการวิจัยเรื่องนี้จะแล้วเสร็จต้องใช้ระยะเวลานานหลายปี อีกทั้งการเดินทางทั้งในและนอกประเทศในพื้นที่ที่ถ้ำนกซึ่งมีความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง แต่อาจารย์เกษม ก็ไม่ย่อท้อ กลับมุ่งมั่นและพยายามรวบรวมองค์ความรู้เรื่องรังนกให้ครอบคลุมรอบด้านมากที่สุด ฝ่าย 1 จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ รวมทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เป็นอย่างดีศาสตรจารย์ ดร.อิศรา ศานติศาสน์– ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ (ฝ่าย 1)
รายละเอียดหนังสือ
ISBN : 9786167474533 (ปกอ่อน) 752 หน้า
ขนาด : 145 x 211 x 45 มม.
น้ำหนัก : 895 กรัม
เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ
ชนิดกระดาษ : กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ สนับสนุนการวิจัย, สนง. กองทุน
เดือนปีที่พิมพ์ : 4/2017